ร้านสมุนไพรออนไลน์
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
(Auto Reply) Thank you for your message. We will get back to you during office hours Mon-Sat 10am-5pm (GMT+7)
เริ่มแชท

รากปลาไหลเผือก ผง 100กรัม

คุณสมบัติสินค้า:

รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย คนเดินป่านิยมกันนัก เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง อดทน ช่วยคลายอาการปวดเมื่อย ป้องกันและรักษาไข้ป่าในระหว่างการเดินทาง (ราก)[1],[7] ส่วนทางภาคใต้จะใช้ทั้งแก่นและรากนำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3-4 ครั้ง และช่วงก่อนนอนเป็นยาโด๊ปชั้นยอดที่ช่วยบำรุงกำลังและบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ทำให้เลือดไหลเวียนดี (แก่นและราก)

หมวดหมู่ : ผงสมุนไพร 100กรัม

Share

ที่มา https://medthai.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81/

สรรพคุณของปลาไหลเผือก
รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย คนเดินป่านิยมกันนัก เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง อดทน ช่วยคลายอาการปวดเมื่อย ป้องกันและรักษาไข้ป่าในระหว่างการเดินทาง (ราก)[1],[7] ส่วนทางภาคใต้จะใช้ทั้งแก่นและรากนำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3-4 ครั้ง และช่วงก่อนนอนเป็นยาโด๊ปชั้นยอดที่ช่วยบำรุงกำลังและบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ทำให้เลือดไหลเวียนดี (แก่นและราก)[7]
ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของราก)[12]
ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง (ราก)[1],[3],[4]
รากมีรสขม เบื่อเมาเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายพิษต่าง ๆ ทุกชนิด ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ และโลหิต (ราก)[1],[3],[4] รากปลาไหลเผือก ใช้ผสมกับรากย่านางแดงและพญายา นำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาขับพิษ (ราก)[1]
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด แก้ไข้เรื้อรัง เป็นยาลดไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ตัดไข้ทุกชนิด ตามตำรับยาจะใช้รากแห้งหนักประมาณ 8-15 กรัมหรือครั้งละ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ราก)[1],[2],[3],[4],[5]การใช้เป็นยาตัดไข้ ให้ใช้รากแห้งนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร เช้าและเย็น (ราก)[11] ส่วนทางภาคใต้จะใช้รากต้มกินเพื่อป้องกันและรักษาไข้ป่า (ราก)[7]
 


 

เปลือกลำต้นนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้จับสั่น แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้ทรพิษ แก้ไข้เหือดหัด ไข้กาฬนกนางแอ่น (เปลือกต้น)[3],[4]
ช่วยขับเหงื่อ (ราก)[1],[3]
สำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์มักจะติดเชื้อได้ง่ายและเป็นไข้อยู่บ่อย ๆ ก็อาจจะใช้รากของต้นปลาไหลเผือกนำมาต้มกินก็ได้ (ราก)[11]
ช่วยแก้วัณโรค วัณโรคระยะบวมขึ้น แก้กาฬโรค (ราก)[1],[3],[4]
ใช้รากปลาไหลเผือก รากโลดทะนงแดง และพญาไฟ นำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาทำให้อาเจียน ใช้เลิกเหล้า (ราก)[1]
รากใช้ภายนอกเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะ (ราก)[1]
ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ (ราก)[1],[3],[4]
ช่วยรักษาโรคคอพอก ด้วยการใช้ตำรับยาสามราก (ดูด้านล่าง) นำมาฝนกับน้ำมะนาว ใส่เกลือทะเล เติมน้ำใส่ขวดไว้ใช้กินต่างน้ำประมาณ 2 เดือน อาการคอพอกก็จะค่อย ๆ ยุบไป จนหายเป็นปกติ (ราก)[11]
ตำรายาไทยใช้รากเป็นยาแก้ลม (ราก)[1],[4]
ช่วยแก้พิษสำแดง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของราก)[12]
รากใช้ฝนกับน้ำกินหรือฝนกับน้ำปูนใสกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดท้องอย่างแรงจากโรคกระเพาะหรือกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน (ราก)[1],[7],[11] ช่วยแก้ท้องมาน ท้องร่วง (ราก)[9]
ช่วยแก้อาการท้องผูก (ราก)[1],[3],[4]
ช่วยแก้ฝีในท้อง ฝีในอก (วัณโรค) ด้วยการใช้ปลาไหลเผือกนำมาเคี้ยวกินได้เลย หรือจะนำมาต้มกินก่อนอาหารเช้าและเย็นก็ได้ (ราก)[11]
รากใช้เป็นยาขับพยาธิ (ราก)[1],[3],[4]
รากใช้ผสมกับรากผักติ้วและหญ้าแห้วหมู นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (ราก)[2]
เปลือกลำต้นนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เบาพิการ (เปลือกต้น)[3],[4]
ในประเทศมาเลเซียจะใช้รากเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศและเป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร (ราก)[1]
ช่วยขับถ่ายน้ำเหลือง (ราก)[1],[3],[4]
รากใช้ภายนอกเป็นยาพอกปิดบาดแผลพุพอง (ราก)[1]
ใช้แก้ฝี แผลพุพอง แผลเรื้อรัง ให้ใช้รากผสมกับน้ำปูนใสแล้วนำมาใช้ทา (ราก)[11]
ต้นและรากนำมาต้มกับน้ำหรือแช่ในน้ำ ใช้อาบแก้ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้อากาศหรือจากการแพ้สารเคมี (ต้นและราก)[8]
ใช้รักษาผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ (ราก)[10]
ช่วยบรรเทาอาการผื่นคันบริเวณผิวหนัง (ราก)[7]
รากใช้เป็นยาแก้พิษทุกชนิด พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย พิษฝีทั้งภายนอกและภายใน (ราก)[7]
ทางภาคใต้จะใช้รากต้มกินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดทั่วไป ปวดข้อ ปวดตามร่างกาย แก้บวม แก้บิด (ราก)[7],[12] แก้โรคปวดเอว (ราก)[9]
ช่วยรักษาโรคอัมพาต (ราก)[1],[3],[4]
รากปลาไหลเผือกจัดอยู่ในตำรับ "ยาประสะเหมือดคน" ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน และเป็นส่วนประกอบในตำรับ "ยาจันทน์ลีลา" หรือ "ยาจันทลีลา" (โกฐสอ, โกฐเขมา, โกฐจุฬาลัมพา, จันทน์แดง, จันทน์เทศ, เถาบอระเพ็ด, ลูกกระดอม, รากปลาไหลเผือกอย่างละ 4 ส่วน และพิมเสนอีก 1 ส่วน นำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม ใช้กินเวลามีไข้ครั้งละ 2-4 เม็ด ทุก ๆ 4 ชั่วโมง) เป็นตำรับที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด แก้ไข้เปลี่ยนฤดู และยังอยู่ในตำรับ "ยาแก้ไข้ห้าราก" อีกด้วย (ราก)[2],[11]
รากปลาไหลเผือกจัดอยู่ในตำรับ "ยาสามราก" ซึ่งประกอบไปด้วยพญารากเดี่ยว (รากปลาไหลเผือก), รากโลดทะนง และรากฮังฮ้อน (พญารากไฟ) โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณทำให้อาเจียนและถ่าย ใช้เป็นยาล้างพิษสารเสพติด ใช้บำบัดผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด ช่วยแก้อาการลงแดงจากยาเสพติดได้ (ตามข้อมูลระบุว่าให้ใช้รากทั้งสามนำมาฝนกับน้ำมะนาวกินก่อนอาหาร เช้าและเย็น หรืออาจต้มกับน้ำดื่มก็ได้) (ราก)[2],[11]
รากใช้ผสมในตำรับ "ยาจันทลิ้นลา" ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ รักษาอาการชัก (ราก)[6]
นอกจากนี้รากปลาไหลเผือกยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีก เช่น คุณสมบัติการต้านโรคของอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ ต้านเซลล์มะเร็ง ต้านเชื้อไวรัส ฆ่าเชื้อมาลาเรีย และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในมาเลเซีย[1],[12]
หมายเหตุ : การใช้รากตาม [3] ให้ใช้รากแห้งประมาณ 8-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำดื่มทุกเช้าและเย็น[3]

 


 

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของปลาไหลเผือก
รากปลาไหลเผือกมีฤทธิ์ต้านมาลาเรีย ลดไข้ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความวิตกกังวล ออกฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศในหนูทดลองตัวผู้ มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ช่วยต้านการก่อเกิดเนื้องอก[2] และมีสารต้านการอักเสบ[11]
ฤทธิ์ในการลดระดับความดันเลือด จากการใช้สารสกัดจากรากปลาไหลเผือก ที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 50% แล้วนำไปทดลองด้วยวิธีการฉีดเข้าไปในหลอดเลือดของสุนัข พบว่าไม่สามารถลดความดันโลหิตได้[3]
ฤทธิ์การต้านแพ้ จากการสกัดสารจากรากสดของต้นปลาไหลเผือกด้วยแอลกอฮอล์ 50% ในความเข้มข้นถึง 0.01 กรัมต่อซีซี แล้วทำการทดลองกับลำไส้ของหนูตะเภาที่ตัดแยกจากลำตัว พบว่าทำให้กล้ามเนื้อเรียบเกิดการคลายตัว และยังสามารถต้านฤทธิ์ของ Histamine ได้อีกด้วย[3]
ฤทธิ์ต้านมะเร็งและเชื้อ HIV จากการตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับฤทธิ์การต้านมะเร็งพบว่า สารสกัดจากปลาไหลเผือกเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอดและมะเร็งเต้านม นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อเอดส์อีกด้วย[7]
มีข้อมูลระบุว่าสมุนไพรชนิดนี้มีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่มีฤทธิ์เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidance)[10]
ฤทธิ์ลดไข้ จากการสกัดสารจากรากแห้งของต้นปลาไหลเผือกด้วยแอลกอฮอล์ 50% แล้วทำการทดลองให้สารสกัดที่ได้ผ่านทางสายยาเข้าช่องท้องของกระต่ายทดลองที่ถูกกระตุ้นด้วยยีสต์ให้เป็นไข้ พบว่าไม่มีผลต่อการลดไข้เลย[3]
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย รากพบสารออกฤทธิ์ที่มีรสขมในกลุ่ม quassinoids ได้แก่ eurycomanone, eurycomanol, eurycomalactone ซึ่งทั้งสามชนิดนี้มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยับยั้งการเจริญเติบของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัม (Plasmodium falciparum) ในหลอดทดลอง[1],[2],[5],[7] และจากการสกัดสารที่เปลือกรากแห้ง ด้วยแอลกอฮอล์ 50% พบว่ามีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium falciparum ได้ดีเช่นเดียวกับสารที่สกัดด้วยน้ำ[3]
ฤทธิ์เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ได้มีการศึกษาทดลองทั้งหนูทดลองสูงอายุ ในหนูที่มีอายุปานกลาง และในหนูหนุ่มที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ พบว่า สารสกัดจากรากปลาไหลเผือกสามารถช่วยปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ เพิ่มความทนทานในการมีเพศสัมพันธ์ได้ดีและนานกว่าหนูในกลุ่มควบคุม แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษานี้ในคนถึงประสิทธิผลของสมุนไพรชนิดนี้[7]
ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย มีการศึกษาพบว่า สารสกัดจากรากสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย หรือ Testosterone ได้ จนนำไปสู่การจดสิทธิบัตรสารเคมีและวิธีการสกัด โดยมีสรรพคุณในการช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของนักกีฬา[7]
ความเป็นพิษ จากการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากรากปลาไหลเผือกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,786 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน) และทำการทดลองโดยการฉีดเข้าทางใต้ผิวหนังของหนูทดลองในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ ซึ่งสอดคล้องกับกองวิจัยทางแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่รายงานว่าไม่มีพิษ[2] แต่อีกข้อมูลจากหนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม) ได้ระบุว่าเมื่อใช้ "สารสกัดชนิดหนึ่ง" (ไม่ได้ระบุว่าชนิดไหน) ที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วทำการฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังและทางช่องท้องในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าเกิดเป็นพิษในหนูถีบจักรทดลอง คือทำให้เกิดอาการชักกระตุก หายใจลึก และทำให้หัวใจหยุดเต้นในท่าบีบตัว[3]


ประโยชน์ของปลาไหลเผือก
ในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าปลาไหลเผือกเป็นของศักดิ์สิทธิ์ นักรบในสมัยโบราณนิยมกันนัก เพราะเชื่อว่าจะทำให้หนังเหนียว อยู่ยงคงกระพัน และช่วยบำรุงพละกำลังได้อย่างดีเยี่ยม[7]
รากปลาไหลเผือกมีสรรพคุณในการล้างพิษ จึงถูกนำมาใช้เป็นยาล้างพิษยาเสพติด เพื่อช่วยบำบัดผู้ติดยาเสพติด แก้อาการลงแดงจากยาเสพติด โดยจะใช้อยู่ในรูปของตำรับ "ยาสามราก" อันประกอบไปด้วยรากปลาไหลเผือก รากโลดทะนงแดง และต้นฮังฮ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรถอนพิษทั้งสิ้น[2],[7]
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำเร็จของผงรากปลาไหลที่บรรจุในแคปซูล (ขนาด 400 มิลลิกรัม) เพื่อการบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งประสิทธิภาพนั้นก็ขึ้นอยู่กับอายุและร่างกายของผู้รับประทาน (แนะนำให้กินก่อนอาหารเช้า และให้กิน 2 วัน หยุด 2 วัน หรือทุก 3 วัน หรือกินวันเว้น)[7]
สารสกัดจากสมุนไพรปลาไหลเผือกได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นของสหรัฐอเมริกาอยู่หลายสิทธิบัตร เช่น สิทธิบัตรการปรับระดับฮอร์โมนเพศชายด้วยการใช้ปลาไหลเผือก สิทธิบัตรสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย สิทธิบัตรในการเป็นยาทาภายนอกเพื่อเพิ่มระดับของฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต สิทธิบัตรในการเป็นส่วนประกอบและวิธีการในการเพิ่มกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็ง เพิ่มสมรรถภาพของนักกีฬา การลดไขมันและนำไปสู่การลดน้ำหนัก สิทธิบัตรในการเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในรูปของแคปซูลและยาเม็ด และสิทธิบัตรในการเป็นส่วนประกอบของสารสกัดจากพืชที่ใช้รักษาอาการหัวล้านในเพศชาย[7]
จากการต่อยอดจากผลงานวิจัยจนเกิดการจดสิทธิบัตรอีกหลายฉบับ จึงทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยจะเป็นสินค้าที่อยู่ในรูปของอาหารเสริมและเครื่องดื่มเป็นหลัก ซึ่งจะใช้ปลาไหลเผือกเป็นส่วนประกอบหลัก ในการผลิตสินค้ามากกว่า 100 ชนิด โดยทั้งหมดจะเน้นไปที่คุณสมบัติทางด้านการเสริมสมรรถภาพทางเพศเป็นหลัก และอาจกล่าวได้เป็นไวอากราจากธรรมชาติกันเลยทีเดียว[10]
นอกจากนี้ปลาไหลเผือกยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งเป็นคำโฆษณาจากสินค้าที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมปลาไหลเผือกทั้งหลายบนเว็บไซต์ (เพียงแต่ผู้เขียนยังหาแหล่งอ้างอิงของสรรพคุณส่วนนี้มายืนยันไม่ได้ จึงไม่ขอยืนยันความถูกต้องของข้อมูลนะครับ แนะนำว่าควรใช้วิจารณญาณประกอบไปด้วยครับ) เช่น ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านความเครียดและลดความกังวล ชะลอความเสื่อมหรือความแก่ชราของร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มพลังงาน เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ลดอาการเมื่อยล้า แก้อาการอ่อนเพลีย แก้อาการเมาค้าง นอนไม่หลับ มีอาการไอเรื้อรัง รักษาโรคเลือด โรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ ไมเกรน โรคปอด โรคตับ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร โรคกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ กินของแสลง อาหารเป็นพิษ แก้ตกขาว ประจำเดือนดำ แก้อาการปวดมดลูก ลดสภาวะวัยทองทั้งชายและหญิง สร้างสมดุลให้กับฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชาย ช่วยเพิ่มจำนวนสเปิร์มในน้ำอสุจิ เพิ่มความแข็งแรงและความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม บำรุงสเปิร์มและไขกระดูก ช่วยบำรุงไต แก้น้ำเหลืองไม่ดี แก้ประดงต่าง ๆ แก้งูสวัด แก้สะเก็ดเงิน แก้เส้นเอ็นอักเสบ แก้อาการปวดฟัน ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดหลัง ปวดเอว ปวดกระดูก มือเท้าชา ข้อเสื่อมรูมาติก เกาต์ แก้อาการปวดข้อของสตรีในวัยหมดประจำเดือน เป็นอัมพฤกษ์เริ่มแรก เป็นมะเร็งเริ่มแรก โบราณว่าเป็นยาสำหรับใช้รักษาโรคได้ 108 ชนิด และได้ระบุวิธีการใช้รักษาอาการต่าง ๆ ไว้ดังนี้

เบาหวาน ความดันโลหิต ให้รับประทานยาแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือให้ใช้รากแห้งนำมาต้มกับน้ำกิน
ริดสีดวงจมูกและริดสีดวงทวาร ให้รับประทานยาแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น สำหรับริดสีดวงทวารถ้าหัวโผล่ออกมาก็ให้ทำเป็นยาทาด้วย
แก้ปวดฟัน ให้ใช้ยาผงนำมาอุดฟันที่มีอาการปวดแล้วอมไว้ประมาณ 5 นาที อาการปวดจะหายไป
แก้หอบหืด ให้ใช้ยาผงบดกับน้ำซาวข้าว ใช้กิน 1 แก้ว หรือใช้ต้มกินเช้าและเย็น
โรคกระเพาะอาหาร ให้ชงยาผงบดกับน้ำเปล่า 1 แก้ว ใช้กินก่อนอาหารวันละ 3 แก้ว
หากกินของแสลง อาหารเป็นพิษ หรือมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีอาการอ่อนเพลีบ เมาค้าง ไอเรื้อรัง ให้ใช้ยาผงชงกับน้ำอุ่นดื่ม 1 แก้ว
งูสวัด ให้ใช้ยาผงผสมกับน้ำมะนาว แล้วนำมาใช้ทารอบแผลอย่างช้า ๆ
สะเก็ดเงิน ให้ใช้ยาผงผสมกับมะนาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น
แก้พิษต่าง ๆ เช่น ตะขาย แมงป่อง ปลาดุก ฝี ผดผื่นคัน ให้ใช้ผงผสมกับน้ำมะนาวนำมาแล้วจะหาย
บ้างว่ารสขมจากรากจะสามารถทำให้การหลั่งน้ำลายเพิ่ม กระตุ้นทำให้อยากอาหาร
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรปลาไหลเผือก
หากเพิ่งใช้สมุนไพรปลาไหลเผือกในรูปของยาผงครั้งแรก แนะนำว่าให้ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าที่แนะนำก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจตามมา[7]
เนื่องจากรากปลาไหลเผือกมีเป็นสมุนไพรที่มีพิษเบื่อเมา การนำมาใช้จึงต้องระวัง เพราะสำหรับบางคนแล้วเมื่อกินเข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย วิงเวียนศีรษะ หรือมีไข้อ่อน ๆ หากมีอาการดังกล่าวก็ให้หยุดรับประทานแล้วดื่มน้ำเยอะ ๆ จนกว่าอาการจะหายไป และทางที่ดีควรเริ่มกินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณตามคำแนะนำ[7]
การใช้เพื่อเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศนั้น ไม่ควรกินยาผงเกิน 1 กรัม (1,000 มิลลิกรัม) ต่อวัน และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 1 เดือน แต่ให้ใช้และหยุดในระยะเวลาเท่ากัน ๆ[7]
การใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงของแอนโดรเจน ทำให้ต่อมลูกหมากโตและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้[7]
แม้ว่าสมุนไพรหลาย ๆ ชนิด จะนำมาดองกับเหล้าเพื่อเป็นยาบำรุงกำลัง แต่สำหรับสมุนไพรชนิดนี้ไม่ควรนำมาดองกับเหล้ากิน เนื่องจากมีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษอยู่ ซึ่งเป็นสารที่สามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์[7]


เอกสารอ้างอิง
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ปลาไหลเผือกใหญ่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [20 เม.ย. 2014].
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ปลาไหลเผือกใหญ่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com.  [20 เม.ย. 2014].
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “ปลาไหลเผือก”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 450-452.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  “ปลาไหลเผือก”.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  หน้า 108.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ปลาไหลเผือก”.  หน้า 110.
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “ปลาไหลเผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [20 เม.ย. 2014].
ไตรย (THRAI) ฐานข้อมูลตำรายาสมุนไพรไทย, หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “เรื่องน่ารู้ของปลาไหลเผือก : สมุนไพรคู่ใจพรานไพร คู่กายของชายชาตรี ยาอายุวัฒนะ เสริมพลังชีวิต”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: thrai.sci.ku.ac.th. [20 เม.ย. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ปลาไหลเผือก ”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [20 เม.ย. 2014].
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, กรมวิชาการเกษตร.  “ปลาไหลเผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doa.go.th/hrc/chumphon/.  [20 เม.ย. 2014].
เดอะแดนดอทคอม.  “ปลาไหลเผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.the-than.com.  [20 เม.ย. 2014].
สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๑๒, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่).  “ปลาไหลเผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:http://www.oocities.org/thaimedicinecm/.  [20 เม.ย. 2014].
ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  “ปลาไหลเผือก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: copper.msu.ac.th/plant/.  [20 เม.ย. 2014].

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้