สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ของกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) ซึ่งจะช่วยลดปราณพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเจี๊ยบเขียวจึงจัดเป็นผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำและละลายน้ำของกระเจี๊ยบเขียว มีคุณสมบัติช่วยการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี โดยเส้นใยที่ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและขับถ่ายออกทางอุจจาระ จึงไม่มีสารพิษตกค้างในลำไส้ และสำหรับผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานและคอเลสเตอรอลสูง เส้นใยที่ละลายน้ำในกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่จับอยู่กับน้ำดีได้
Share
ที่มา https://health.kapook.com/view91313.html
กระเจี๊ยบเขียว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus (L.) Moench. อยู่ในวงศ์ Malvaceae มีชื่ออื่น ๆ ว่า กระเจี๊ยบขาว มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือทวาย มะเขือละโว้ ถั่วส่าย เป็นต้น
กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศเอธิโอเปีย แถบศูนย์สูตรของทวีปแอฟริกา อียิปต์ หมู่เกาะอินเดียตะวันตก และเอเชียใต้ นิยมปลูกมากทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยเฉพาะในประเทศไทยที่สามารถปลูกได้ทุกภาค
กระเจี๊ยบเขียวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน โฟเลต แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี อยู่ในปริมาณพอสมควร
ที่สำคัญกระเจี๊ยบเขียวมีกลูตาไธโอน (glutathione) มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกาย การสร้างสารซ่อมแซมเซลล์ ทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษที่เกิดในร่างกาย และช่วยต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันนิยมใช้สารนี้เพื่อให้ผิวขาวขึ้น เพราะกลูตาไธโอนสามารถกดการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตเม็ดสีได้ชั่วคราว
นอกจากนี้ กระเจี๊ยบเขียวยังเต็มไปด้วยเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งเป็นส่วนของพืชผักที่ร่างกายย่อยไม่ได้ และเส้นใยที่ละลายน้ำได้ เช่น เพกทิน (pectin) และเมือก (mucilage) ซึ่งเกิดจากสารประกอบ acetyated acidic polysaccharide และกรดกาแล็กทูโลนิก (galactulonic caid)
สารเมือกหรือเส้นใยที่ละลายน้ำได้ของกระเจี๊ยบเขียว เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ (พรีไบโอติกแบคทีเรีย) ซึ่งจะช่วยลดปราณพิษที่ผลิตจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย กระเจี๊ยบเขียวจึงจัดเป็นผักสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง
เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำและละลายน้ำของกระเจี๊ยบเขียว มีคุณสมบัติช่วยการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี โดยเส้นใยที่ละลายน้ำได้มีคุณสมบัติในการดูดซับสารพิษและขับถ่ายออกทางอุจจาระ จึงไม่มีสารพิษตกค้างในลำไส้ และสำหรับผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานและคอเลสเตอรอลสูง เส้นใยที่ละลายน้ำในกระเจี๊ยบเขียวจะช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรอลและน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการขับถ่าย ซึ่งเป็นการช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่จับอยู่กับน้ำดีได้
ในประเทศไทย มีรายงานการทดลองเกี่ยวกับการรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด พบสารสกัดจากกระเจี๊ยบเขียวด้วยแอลกอฮอล์สามารถลดจำนวนพยาธิตัวจี๊ดในหนูถีบจักรได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดควรไปพบแพทย์และกินกระเจี๊ยบเขียวเป็นผักติดต่อกันประมาณ 2 สัปดาห์
สรรพคุณเด่นที่สำคัญในการใช้เป็นยารักษาโรคของกระเจี๊ยบเขียว คือ การใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกและท้องเสียสลับกัน และยังช่วยรักษาอาการปวดท้อง จากแผลในกระเพาะอาหารและแผลจากลำไส้เล็กส่วนต้น
ในปี 2547 มีรายงานการศึกษาพบว่าสารประกอบไกลโคไซเลต (glycosylated compounds ซึ่งประกอบด้วย โพลีแซกคาไรด์ (polysaccharides) และไกลโคโปรตีน (glycoproteins) ในกระเจี๊ยบเขียว มีฤทธิ์ยับยั้งความสามารถของเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ (helicobacter pylori) ในการเกาะเยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้เอง เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่สารไกลโคไซเลต จะมีฤทธิ์ลดลงเมื่อถูกความร้อน
ยางจากผลสดของกระเจี๊ยบเขียวช่วยรักษาแผลสด เมื่อถูกของมีคนบาดให้ใช้ยางจากฝักกระเจี๊ยบทาแผล แผลจะหายไว และไม่เป็นแผลเป็น
ส่วนผลอ่อนมีเมือกลื่นทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ชาวบ้านบางพื้นที่นิยมนำมาพอกผิวหนังที่รู้สึกแสบร้อน
ตำรับยาแก้พยาธิตัวจี๊ด
- ตำรับที่ 1 นำผลกระเจี๊ยบเขียวที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริก หรือทำแกงส้ม แกงเลียง กินวันละ 3 เวลาทุกวัน โดยจะกินเท่าไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยวันละ 4-5 ผล ติดต่อกัน 15 วัน หรือบางคนต้องกินเป็นเดือนจึงจะหาย
- ตำรับที่ 2 ใช้รากกระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเขียว ต้มกิน
ตำรับยารักษาโรคกระเพาะ
ใช้ฝักอ่อนกะเจี๊ยบเขียวหั่นตากแดดบดให้ละเอียด กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ โดยนำมาละลายในน้ำ นม น้ำผลไม้ หรืออาหารอ่อน ๆ กินวันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร (เวลาละลายจะได้น้ำยาเหนียว ๆ)
ตำรับยาบำรุงข้อกระดูก
นำผลกระเจี๊ยบเขียว 3 ผล กินสดหรือต้มกับหอมแดงขนาดใหญ่ 1 หัว เพื่อบำรุงร่างกายและเพิ่มความยืดหยุ่นในกระดูก โดยเชื่อว่าเมือกในกระเจี๊ยบจะช่วยได้
ตำรับยาแก้ปวดท้อง
ใช้รากกระเจี๊ยบเขียวฝนกับน้ำธรรมดากิน
การกินกระเจี๊ยบเขียวนอกจากจะได้ความอร่อยแล้ว ยังเป็นการช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ระบบดูดซึมสารอาหาร ลดความเสี่ยงโรคแผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดน้ำหนักและไขมันในเลือดได้ดีอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน