คุณค่าทางโภชนาการ ใบเตยสด มีน้ำมันหอมระเหย รสหวาน หอม มัน และมีสีเขียวที่นิยมใช้แต่งสีอาหาร เป็นสารคลอโรฟิลล์ ใช้เป็นยา ใบสด ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ต้นและราก เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ
Share
::ข้อมูลทั่วไป::
เตยหอม (Pandanus)
Pandanus odorus Ridl. fam. : PANDANACEAE
::ชื่ออื่น:: กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง) ส้มพอเหมาะ ส้มเก็งเค็ง (เหนือ) ส้มตะเลงเครง (ตาก) ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ผักเก็งเค็ง ส้มพอดี (อีสาน) ใบส้มม่า (ระนอง)
:การใช้ประโยชน์::
ใช้เป็นอาหาร น้ำคั้นจากใบ นำมาแต่งกลิ่นแต่งสีขนม
คุณค่าทางโภชนาการ ใบเตยสด มีน้ำมันหอมระเหย รสหวาน หอม มัน และมีสีเขียวที่นิยมใช้แต่งสีอาหาร เป็นสารคลอโรฟิลล์
ใช้เป็นยา ใบสด ต้มกับน้ำดื่ม ลดอาการกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ต้นและราก เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน และแก้กระษัยน้ำเบาพิการ
::น้ำเตยหอม::
- ส่วนผสม-
ใบเตย 3 ถ้วย
น้ำสะอาด 8 ถ้วย
น้ำตาลทราย 2 ถ้วย
น้ำแข็ง
- วิธีทำ -
ใบเตยสดที่ไม่แก่มากเก็บใหม่ๆ ล้างทีละใบให้สะอาด แช่น้ำด่างทับทิม 10-15 นาที นำมาหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆ แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งใส่ลงในหม้อที่มีน้ำกำลังต้มเดือดต้มเคี่ยว 5-10 นาที เติมน้ำตาลทรายให้รสหวานจัด กรองเอากากออก ใบเตยที่หั่นแล้วอีกส่วนหนึ่งปั่นให้ละเอียดโดยเติมน้ำ กรองเอากากออก เติมน้ำที่คั้นได้ซึ่งสีเขียว และกลิ่นหอมลงในหม้อใบเตยที่เติมน้ำตาล และกำลังเดือด ชิมให้มีรสหวานพอเดือดรีบยกลง เมื่อจะดื่มใส่น้ำแข็งบดละเอียด