สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ และมีกลิ่นฉุนสามารถไล่แมลงได้ หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้ ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวได้ด้วย
Share
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89
ประโยชน์
ใช้ส่วนของเหง้าและลำต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิดเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามาก ๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม และที่กำจัดยุงบางชนิดก็ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมีกลิ่นที่แรงจึงช่วยทำให้ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีมาก ๆ
สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ และมีกลิ่นฉุนสามารถไล่แมลงได้
หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวได้ด้วย
คุณค่าทางโภชนาการ
ตะไคร้ ( 100 กรัม) มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
· ให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่
· มีโปรตีน 1.2 กรัม
· มีไขมัน 2.1 กรัม
· มีคาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม
· มีเส้นใย 4.2 กรัม
· มีแคลเซียม 35 มิลลิกรัม
· มีฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
· มีเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม
· มีวิตามินเอ 43 ไมโครกรัม
· มีไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม
· มีไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
· มีไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม
· มีวิตามินซี 1 มิลลิกรัม
· มีเถ้า 1.4 กรัม
สารสำคัญที่พบ
สารสำคัญพบที่ส่วนของลำต้นและใบซึ่งมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ที่ประกอบด้วยสารจำนวนหลายชนิด ได้แก่
· ซิทราล (Citral) พบมากที่สุด 75-90%
· ทรานซ์ ไอโซซิทราล (Trans-isocitral)
· ไลโมเนน (Limonene)
· ยูจีนอล (Eugenol)
· ลินาลูล (Linalool)
· เจอรานิออล (Geraniol)
· คาริโอฟิวลีน ออกไซด์ (Caryophyllene oxide)
· เจอรานิล อะซิเตท (Geranyl acetate)
· 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน (6-Methyl 5-hepten-2-one)
· 4-โนนาโนน (4-Nonanone)
· เมทิลเฮพทีโนน (Methyl heptennone)
· ซิโทรเนลลอล (Citronellol)
· ไมร์ซีน (Myrcene)
· การบูร (Camphor)
อ้างอิง
1. ↑ "Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
2. ↑ https://puechkaset.com/ตะไคร้/