ร้านสมุนไพรออนไลน์
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
(Auto Reply) Thank you for your message. We will get back to you during office hours Mon-Sat 10am-5pm (GMT+7)
เริ่มแชท

ดอกคำฝอย ผง 1กิโลกรัม

คุณสมบัติสินค้า:

สมุนไพรดอกคําฝอย สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) อยู่มาก ซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดและขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานหัวหอมหรือกระเทียมที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน ด้วยการใช้ดอกคำฝอยแห้งประมาณ 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยแล้วใช้ดื่ม หรืออีกสูตรให้ใช้ดอกคำฝอย 1 หยิบมือและดอกเก๊กฮวย 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาด 500 cc. แล้วเคี่ยวจนงวดประมาณ30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชาครั้งละ 1 ถ้วยแก้ววันละ 2-3 ครั้ง และสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติก็ให้รับประทานติดต่อกันสัก 3-7 วัน และถ้าต้องการเพิ่มรสชาติหรือดับรสขื่นหรือเฝื่อน ก็ให้เติมน้ำตาลทรายขาวเข้าไป 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ถ้วยแก้ว (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล, น้ำมันจากเมล็ด)

Share

ที่มา https://medthai.com/%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2/

สรรพคุณของคําฝอย
สมุนไพรดอกคําฝอย สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากดอกคำฝอยมีกรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) อยู่มาก ซึ่งกรดชนิดนี้จะเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันในเลือดและขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่ชอบรับประทานหัวหอมหรือกระเทียมที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน ด้วยการใช้ดอกคำฝอยแห้งประมาณ 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยแล้วใช้ดื่ม หรืออีกสูตรให้ใช้ดอกคำฝอย 1 หยิบมือและดอกเก๊กฮวย 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาด 500 cc. แล้วเคี่ยวจนงวดประมาณ30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชาครั้งละ 1 ถ้วยแก้ววันละ 2-3 ครั้ง และสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติก็ให้รับประทานติดต่อกันสัก 3-7 วัน และถ้าต้องการเพิ่มรสชาติหรือดับรสขื่นหรือเฝื่อน ก็ให้เติมน้ำตาลทรายขาวเข้าไป 2-3 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ถ้วยแก้ว (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล, น้ำมันจากเมล็ด)
ดอกคำฝอย ลดความอ้วน ! ด้วยการใช้ดอกประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ดอก)
ช่วยบำรุงประสาทและระงับประสาท (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล)
ช่วยรักษาโรคฮิสทีเรีย (Hysteria) หรือโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง หรือโรคขาดความอบอุ่น (ดอก)
ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีออกซิเจนเข้าถึงเซลล์ต่าง ๆ ได้ดี (ดอก)
 
ช่วยบำรุงโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษ และช่วยฟอกโลหิต (ดอก, เกสร, กลีบที่เหลือจากผล)
ช่วยสลายลิ่มเลือด จะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ชอบกินของหวาน เพราะจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เลือดเหนียวข้นจับตัวกันเป็นลิ่มเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ไม่ดี โดยดอกคำฝอยจะช่วยสลายลิ่มเลือดให้เล็กลง ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดเกาะตัวกันเป็นลิ่มเลือด (ดอก)
ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยทำให้มีเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจมากยิ่งขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล)
ช่วยแก้โรคลมเนื่องจากเส้นเลือดในสมองแตก (เมล็ด)
ช่วยรักษาอาการปวดหัวใจอันเนื่องมาจากเลือดและซี่ตับ หรือเลือดลมเดินไม่สะดวก (ส่วนมากจะใช้ร่วมกับสมุนไพรตังเซิน ชวนเจียง อู่หลินจือ)
ช่วยขับเหงื่อ (ดอก)
ช่วยรักษาอาการไข้หลังคลอดของสตรี (ดอก)
ดอกช่วยแก้ไข้ในเด็ก (ดอก)
ช่วยแก้หวัดน้ำมูกไหล (ดอก)
เมล็ดใช้เป็นยาขับเสมหะ (เมล็ด)
เมล็ดหรือดอกใช้เป็นยาถ่าย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ดอก, เมล็ด)
ช่วยรักษาท้องเป็นเถาดัน (ดอก)
เมล็ดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด)
ช่วยบำรุงโลหิตประจำเดือนของสตรี ช่วยขับระดูโลหิตประจำเดือนของสตรี ช่วยกระจายเลือดแก้ประจำเดือนคั่งค้างมาไม่เป็นปกติ (ดอก, เกสร, เมล็ด, กลีบที่เหลือจากผล)
ช่วยระงับอาการปวดประจำเดือนของสตรี (ดอก)
ช่วยแก้อาการปวดมดลูกและลดอาการอักเสบของมดลูกในสตรี (เมล็ด)
แก้อาการตกเลือด อาการปวดท้องหลังคลอด น้ำคาวปลาไม่หมด (ดอก)
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงน้ำเหลืองให้เป็นปกติ (ดอก, เกสร, กลีบที่เหลือจากผล)
ดอกและกลีบที่เหลือจากผลช่วยแก้ดีพิการ (ดอก, กลีบที่เหลือจากผล)
ดอกช่วยแก้ดีซ่าน (ดอก)
น้ำมันจากเมล็ดใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ (ดอก, เมล็ด, กลีบที่เหลือจากผล)
ช่วยแก้ฝี (น้ำมันจากเมล็ด)
ช่วยรักษาตาปลา ด้วยการใช้ดอกคำฝอยสดและตี้กู่ฝีในปริมาณที่เท่ากัน นำมาตำผสมรวมกัน แล้วใช้ปิดบริเวณที่เป็นตาปลา โดยเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง ไม่เกิน 5 วันก็จะดีขึ้น (ดอก)
ช่วยแก้อาการแสบร้อนตามผิวหนัง (ดอก, เกสร, กลีบที่เหลือจากผล)
น้ำมันจากเมล็ดใช้ทาแก้อาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว รักษาโรคไขข้ออักเสบได้ หรือจะใช้ดอกนำมาต้มกับน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำแล้วพอกก็ได้ (เมล็ด, ดอก)
ช่วยป้องกันแผลกดทับ ด้วยการใช้ดอกคำฝอยประมาณ 3 กรัมนำมาแช่กับน้ำพอประมาณจนน้ำเป็นสีแดง แล้วนำมาถูกบริเวณที่กดทับ โดยถูครั้งละ 10-15 นาที หากทำอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยป้องกันแผลกดทับได้ถึง 100% โดยไม่มีผลข้างเคียง (ดอก)
ช่วยรักษาแผลกดทับ ด้วยการนำดอกคำฝอย 500 กรัม มาต้มในน้ำ 7 ลิตรด้วยไฟปานกลางประมาณ 2 ชั่วโมง จนดอกคำฝอยเปลี่ยนเป็นสีขาว แล้วตักเอากากออกเหลือไว้แต่น้ำ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ ต่อไปจนน้ำเหนียวเป็นกาว หลังจากนั้นให้ทายาลงบนผ้าสะอาดที่ฆ่าเชื้อแล้ว แล้วเอาไปปิดบริเวณที่เป็นแผลกดทับ เปลี่ยนยาวันละ 1-2 ครั้ง โดยทำติดต่อกันประมาณ 1 อาทิตย์ แผลจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง (ดอก)
ดอกช่วยบำรุงคนเป็นอัมพาต (ดอก)
น้ำมันจากเมล็ดใช้ทาเป็นยาแก้อัมพาตและอาการขัดตามข้อต่าง ๆ ได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
เมล็ดใช้ตำแล้วนำมาพอกบริเวณหัวหน่าว ช่วยแก้อาการปวดมดลูกหลังการคลอดบุตรได้ (เมล็ด)
ดอกใช้ต้มน้ำอาบเวลาออกหัด (ดอก)
ดอกคำฝอยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย (ดอก, น้ำมันจากเมล็ด)
ในปากีสถานและอินเดีย ทุกส่วนของต้นคำฝอยนำมาขายเป็นสมุนไพรคําฝอยที่เรียกว่า "Pansari" ซึ่งมีสรรพคุณใช้รักษาโรคหลาย ๆ อย่าง และใช้เป็นยากระตุ้นทางเพศ (Aphrodisiac) (ข้อมูลจากเว็บ beautyherbshop.com)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของคำฝอย ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ลดอาการอักเสบ แก้แพ้ ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งฟันผุ
 


 

คำแนะนำในการใช้สมุนไพรดอกคำฝอย
แม้ว่าคำฝอยจะมีสรรพคุณที่หลากหลาย แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือดได้หากไม่รู้จักใช้ให้ถูกวิธี ซึ่งแพทย์แผนจีนมักจะใช้ดอกคำฝอยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอยู่เสมอ จะไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ควรใช้ในระยะยาว
โทษของดอกคำฝอย การรับประทานอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลทำให้โลหิตจางได้ มีผลทำให้มีเลือดน้อยลง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มีอาการวิงเวียนศีรษะ หรือกลายเป็นคนขี้โรคโดยไม่รู้ตัว
การรับประทานในปริมาณมากจนเกินไปอาจจะทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ และอาจทำให้มีอาการมึนงง หรือมีผดผื่นคันขึ้นตามตัวได้
สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคสมุนไพรดอกคำฝอย เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงเลือดและช่วยขับประจำเดือน หากรับประทานหรือรับประทานในปริมาณมาก ๆ ก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
ควรระมัดระวังเมื่อใช้ดอกคำฝอยร่วมกับยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (Anticoagulant)
งานวิจัยดอกคำฝอย
ค.ศ. 1976 ประเทศอเมริกา ได้ทำการทดลองในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (ชาย 122 คนและหญิง 19 คน) ด้วยการให้รับประทานน้ำมันดอกจากดอกคำฝอยทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ (วันละ 57 กรัม) ผลการทดลองพบว่า น้ำมันจากดอกคำฝอย สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตและระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ และยังมีผลการสร้าง Prostaglandin ที่เป็นผลให้ High Density Lipoprotein เพิ่มขึ้น
ค.ศ. 1989 ประเทศอังกฤษ ได้ทำการทดลองน้ำมันดอกคำฝอยในผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงชนิด Mild hypertension โดยให้รับประทานน้ำมันจากดอกฝอยทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ (วันละ 5.9 กรัม) ผลการทดลองพบว่า ค่าความดัน Systolic ลดลงมา 6.5 mm.Hg และค่าความดัน Diastolic ลดลงมา 4.4 mm. จึงสรุปได้ว่าน้ำมันดอกคำฝอยมีผลในการช่วยลดความดันโลหิตได้จริง
มีการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากดอกย่อยคำฝอยด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูทดลองกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือคิดเป็น 2,500 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดที่ใช้รักษาในคน และให้โดยการฉีดเข้าในผิวหนังของหนูในขนาดเท่ากัน ได้ข้อสรุปว่า ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษแต่อย่างใด
การวิเคราะห์ทางคลินิกพบว่าสารสกัดจากดอกคำฝอยมีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกและฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยทำให้มดลูกและกล้ามเนื้อเรียบหดตัวได้ แต่ถ้าหากใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้มดลูกเป็นตะคริวได้ (ข้อมูลจาก เว็บไซต์โหระพา)
มีการให้อาหารปกติผสมกับน้ำมันดอกคำฝอย 4% ในหนูทดลองที่มีคอเลสเตอรอลสูง ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน พบว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลลดลงถึง 36% แต่ถ้าหากให้อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงผสมกับน้ำมันดอกคำฝอย 4% กลับพบว่าหนูทดลองมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้น (ข้อมูลจาก เว็บไซต์โหระพา)
มีรายงานว่าน้ำมันจากเมล็ดดอกคำฝอยสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี แต่กลับไปสะสมระดับคอเลสเตอรอลในตับเสียเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตับแข็งได้ (ข้อมูลจาก เว็บไซต์โหระพา)
 
 
ประโยชน์ของคำฝอย
ประโยชน์ของดอกคำฝอย ดอกคำฝอยแก่เมื่อนำมาชงกับน้ำร้อนแล้วกรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้มที่มาจากสาร Safflower yellow สามารถนำมาใช้ในการแต่งสีอาหารที่ต้องการ เครื่องปรุงอาหาร เนยเทียม หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ หรือใช้ย้อมผ้าไหมและฝ้าย (แต่สีจะไม่คงทนเท่าไหร่และซีดง่าย) ทำสีย้อมผ้าให้เป็นสีเหลืองได้ แต่งสีเครื่องสำอาง และสามารถใช้แต่งสีข้าวได้อีกด้วย โดยใช้ดอกคำฝอยนำมาต้มกับข้าวโดยใช้อัตราส่วนข้าว 1 ถ้วยตวงต่อกลีบดอก 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำซุป 2 ถ้วยครึ่ง โดยต้มข้าวให้เดือดก่อน แล้วค่อยใส่กลีบดอกซึ่งอยู่ในถุงผ้า ต้มต่อจนน้ำหมดไป ใช้เวลาประมาณ 20 นาที จะได้ข้าวที่มีสีเหลือง
น้ำมันจากเมล็ดที่สกัดโดยผ่านความร้อน สามารถใช้ผสมสีทาบ้าน ทำสบู่ น้ำมันชักเงา น้ำยาเคลือบผิว เคลือบหนังไม่ให้เปียกน้ำได้
ประโยชน์น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกคำฝอยมีคุณสมบัติที่ทนความร้อนได้สูง จึงได้มีการนำน้ำมันดอกคำฝอยมาใช้ในการทอดอาหารและใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้
กากเมล็ดจากดอกคำฝอยที่เหลือจากการบีบน้ำมัน สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์และทำเป็นปุ๋ยได้
น้ำมันดอกคำฝอยชนิดที่บีบสกัดโดยไม่ผ่านความร้อนเหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้ปรุงอาหาร
ต้นคําฝอย สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น ดอกคําฝอยแห้ง ยาแคปซูลดอกคำฝอย ชาดอกคำฝอย น้ำดอกคำฝอย น้ํามันดอกคําฝอย เป็นต้น


แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, รายการสาระความรู้ทางการเกษตร (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่), สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, เว็บไซต์โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เว็บไซต์คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, หนังสือร่วมอนุรักษ์มรดกไทย สารานุกรมสมุนไพรไทย รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช), หนังสือสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง และหนังสือลดไขมันในเลือด (จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้