ร้านสมุนไพรออนไลน์
โดยปกติจะตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง
(Auto Reply) Thank you for your message. We will get back to you during office hours Mon-Sat 10am-5pm (GMT+7)
เริ่มแชท

เมล็ดหมามุ่ยอินเดีย ผง 100กรัม

คุณสมบัติสินค้า:

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. ตามสรรพคุณพื้นบ้านนั้น เมล็ดของหมามุ่ยถูกนำมาใช้ในตำรับยาไทยมาช้านานในการรักษาโรคบุรุษ

หมวดหมู่ : ผงสมุนไพร 100กรัม

Share

แหล่งที่มา: http://www.medplant.mahidol.ac.th/

หมามุ่ยเป็นพืชเถาซึ่งมีขนคันบริเวณฝัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mucuna pruriens (L.) DC. ตามสรรพคุณพื้นบ้านนั้น เมล็ดของหมามุ่ยถูกนำมาใช้ในตำรับยาไทยมาช้านานในการรักษาโรคบุรุษ และมีความเชื่อว่าสามารถใช้เป็นยากระตุ้นกำหนัดได้ การวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ของหมามุ่ยต่อสมรรถภาพทางเพศในสัตว์ทดลองพบว่า การป้อนหนูแรทเพศผู้ด้วยสารสกัดเอทานอลเมล็ดหมามุ่ยที่ความเข้มข้น 200 มก./กก.ของน้ำหนักตัว วันละครั้ง เป็นเวลา 21 - 45 วัน สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางเพศของหนูได้ กล่าวคือมีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศของหนูเปลี่ยนไป โดยมีพฤติกรรมการจับคู่และการขึ้นคร่อมตัวเมียถี่ขึ้น และมีระยะเวลาในการเริ่มสอดใส่อวัยวะเพศครั้งแรกจนหลั่งน้ำเชื้อ (ejaculation latency, EL) นานขึ้น (1, 2) นอกจากนี้การศึกษาทางคลินิกในประเทศอินเดียกับอาสาสมัครเพศชายที่มีภาวะจำนวนสเปิร์มน้อย และสเปิร์มมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยให้อาสาสมัครดื่มนมที่ผสมกับผงบดเมล็ดหมามุ่ยขนาด 5 กรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือนพบว่า ค่าความเข้มข้นของสเปิร์ม และการเคลื่อนไหวของสเปิร์มเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีค่าเกือบเทียบเท่ากับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมล็ดหมามุ่ยมีประสิทธิภาพในการช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำเชื้อให้ดีขึ้นได้ (3, 4) แต่ก็เป็นที่น่าสนใจว่าเมื่อนำผงบดของเมล็ดหมามุ่ยมาทดลองในหนูแรทเพศเมีย กลับมีผลทำให้พฤติกรรมทางเพศมีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ มีพฤติกรรมการจับคู่กับหนูตัวผู้ลดลง และปฏิเสธการรับการผสมพันธุ์จากหนูตัวผู้ (5) แสดงให้เห็นว่าการรับประทานเมล็ดหมามุ่ยอาจให้ผลแตกต่างในระหว่างเพศชายและหญิง

            แม้ว่าจะมีงานวิจัยรองรับถึงฤทธิ์เพิ่มคุณภาพของน้ำเชื้อในบุรุษของเมล็ดหมามุ่ย แต่ก็มีไม่มากนัก  และหมามุ่ยยังแบ่งได้เป็นอีกหลายสายพันธุ์ (Varieties) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ระบุถึงความแตกต่างเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แน่ชัดของแต่ละสายพันธุ์ สำหรับในประเทศไทยสายพันธุ์ที่พบจะเป็นกลุ่มไม้ป่า Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Pruriens ซึ่งจะมีขนพิษปกคลุมที่ฝัก ทำให้เกิดอาการคันเมื่อสัมผัส ส่วนกลุ่มที่เป็นไม้ปลูก Mucuna pruriens (L.) DC. Cultivar group Utillis จะไม่มีขนพิษที่ฝัก ไม่มีการปลูกในประเทศไทย (6, 7) นอกจากนี้ในเมล็ดของหมามุ่ยจะมีสาร L-dopaหรือ L-3,4- dihydroxyphenylalanine อยู่ปริมาณสูง ซึ่งถูกนำมาผลิตเพื่อการค้าในการรักษาโรคพาร์กินสัน สาร L-dopa นี้ เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท dopamine ซึ่งมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายเส้นทาง โดยเฉพาะการควบคุมการเคลื่อนไหว และยังมีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำลง การรับประทานในปริมาณที่มากอาจมีผล   เสียต่อร่างกาย ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บหมามุ่ยมารับประทานเอง จนกว่าจะได้รับการยืนยันถึงสายพันธุ์ที่ใช้ทดสอบ และมีการศึกษาถึงความเป็นพิษในคนที่แน่ชัด




1. Suresh S, Prithiviraj E, Prakash S. Dose-and time-dependent effects of ethanolic extract of Mucuna pruriens Linn. seed on sexual behavior of normal male rats.   J Ethnopharmacol. 2009; 122: 497-501.

2. Kupittayanant P, Munglue P, Saraphat W, Danoopat T, Kupittayanant S. Effects of ethanolic extract ofMucuna pruriens on sexual behavior of normal male rats. Planta Med (55th International congress and annual meeting of the society for medicinal plant research) 2007; 73(9): P595.

3. Ahmad MK, Mahdi AA, Shukla KK, Islam N, Jaiswar SP, Ahmad S. Effect of Mucuna pruriens on semen profile and biochemical parameters in seminal plasma of infertile men. J. fertnstert. 2008; 90(3): 627-635.

4. Gupta A, Mahdi AA, Ahmad MK, Shukla KK, Bansal N, Jaiswer SP, Shankhwar SN. A proton NMR study of the effect of Mucuna pruriens on seminal plasma metabolites of infertile males. J Pharm Biomed Anal. 2011; 55: 1060-1066.

5. Rajendran V, Joseph T, David J. Mucuna pruriens decreases sexual activity in female rats. Indian Drug. 1997; 34(3): 136-139.

6. สุธรรม อารีกุล. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าทางภาคเหนือของประเทศไทย เล่ม 1-3. เชียงใหม่ :มูลนิธิโครงการหลวง,2552: 2,784 หน้า

7. นันทวัน บุณยะประภัศร (บรรณาธิการ). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (5). กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,2543: 508 หน้า

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้